ค้นหาบล็อกนี้

วันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ลักษณะของกิจกรรมด้านความปลอดภัยของชุมชน
เป็นการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผนวกกับความรู้จากภายนอก เป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน
ดังนั้น จึงมีกิจกรรมหลากหลายสอดคล้องกับปัญหาและสภาพแต่ละพื้นที่
ความร่วมมือส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่ประสบปัญหา และสนับสนุนเยาวชนเข้ามามีส่วนร่วม
กิจกรรมใช้ทุนของชุมชน และพบบางชุมชนมีการบันทึกข้อมูล ทำสถิติเพื่อเปรียบเทียบผล
ผลที่เกิดขึ้นชุมชนมีความปลอดภัยเพิ่มขึ้นทั้งในด้านการป้องกัน แก้ไข คุ้มครอง
และดูแล รวมทั้ง ชุมชนได้พัฒนาศักยภาพตนเองในการจัดการความรู้จากภายใน
และการประยุกต์ใช้ความรู้จากภายนอก ส่วนผลกระทบกิจกรรมความปลอดภัย
ได้รับความสนใจของประชาชนในชุมชน ไม่เฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
และได้รับการยอมรับจากหน่วยงานภายนอกอื่นต่อกิจกรรมที่ชุมชนดำเนินการขึ้น
นอกจากนี้ชุมชนเริ่มให้ความสนใจในการรวบรวมข้อมูล เก็บข้อมูล
และได้เรียนรู้การประสานงานกับหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง
ในการทำให้กิจกรรมบรรลุตามเป้าหมาย ได้ส่งเสริมให้มีคนรุ่นใหม่
และเยาวชน เข้ามาร่วมมากขึ้น รวมทั้งสร้างความคิดที่จะขยายไปสู่
ความปลอดภัยในเรื่องอื่น ๆ
หลังจากการแลกเปลี่ยนบทเรียนการจัดความปลอดภัยของชุมชนท้องถิ่นแล้ว
จึงเห็นว่าควรได้กำหนดการทำงานและขับเคลื่อนชุมชนปลอดภัย ไว้ดังนี้
สร้างนิยามของชุมชนปลอดภัย คือ
ชุมชนที่มีความสุขทั้งกายและใจ หมายถึง ชุมชนมีความสุขทั้งกายและใจ
ถ้าปราศจากภัยทุกชนิด โดยชุมชนต้องมีกติกาเดียวกัน มีความสามัคคี
มีส่วนร่วมในกิจกรรม มีผู้นำธรรมชาติ มีกรรมการบริหารกิจกรรม มีการทำแผนชุมชน
การประชุมอย่างต่อเนื่องและมีความร่วมมือกับภาคีหน่วยงานในท้องถิ่น
ลักษณะของกิจกรรมด้านความปลอดภัยของชุมชน
เป็นการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผนวกกับความรู้จากภายนอก เป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน
ดังนั้น จึงมีกิจกรรมหลากหลายสอดคล้องกับปัญหาและสภาพแต่ละพื้นที่
ความร่วมมือส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่ประสบปัญหา และสนับสนุนเยาวชนเข้ามามีส่วนร่วม
กิจกรรมใช้ทุนของชุมชน และพบบางชุมชนมีการบันทึกข้อมูล ทำสถิติเพื่อเปรียบเทียบผล
ผลที่เกิดขึ้นชุมชนมีความปลอดภัยเพิ่มขึ้นทั้งในด้านการป้องกัน แก้ไข คุ้มครอง
และดูแล รวมทั้ง ชุมชนได้พัฒนาศักยภาพตนเองในการจัดการความรู้จากภายใน
และการประยุกต์ใช้ความรู้จากภายนอก ส่วนผลกระทบกิจกรรมความปลอดภัย
ได้รับความสนใจของประชาชนในชุมชน ไม่เฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
และได้รับการยอมรับจากหน่วยงานภายนอกอื่นต่อกิจกรรมที่ชุมชนดำเนินการขึ้น
นอกจากนี้ชุมชนเริ่มให้ความสนใจในการรวบรวมข้อมูล เก็บข้อมูล
และได้เรียนรู้การประสานงานกับหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง
ในการทำให้กิจกรรมบรรลุตามเป้าหมาย ได้ส่งเสริมให้มีคนรุ่นใหม่
และเยาวชน เข้ามาร่วมมากขึ้น รวมทั้งสร้างความคิดที่จะขยายไปสู่
ความปลอดภัยในเรื่องอื่น ๆ
หลังจากการแลกเปลี่ยนบทเรียนการจัดความปลอดภัยของชุมชนท้องถิ่นแล้ว
จึงเห็นว่าควรได้กำหนดการทำงานและขับเคลื่อนชุมชนปลอดภัย ไว้ดังนี้
สร้างนิยามของชุมชนปลอดภัย คือ
ชุมชนที่มีความสุขทั้งกายและใจ หมายถึง ชุมชนมีความสุขทั้งกายและใจ
ถ้าปราศจากภัยทุกชนิด โดยชุมชนต้องมีกติกาเดียวกัน มีความสามัคคี
มีส่วนร่วมในกิจกรรม มีผู้นำธรรมชาติ มีกรรมการบริหารกิจกรรม มีการทำแผนชุมชน
การประชุมอย่างต่อเนื่องและมีความร่วมมือกับภาคีหน่วยงานในท้องถิ่น
ลักษณะของกิจกรรมด้านความปลอดภัยของชุมชน
เป็นการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผนวกกับความรู้จากภายนอก เป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน
ดังนั้น จึงมีกิจกรรมหลากหลายสอดคล้องกับปัญหาและสภาพแต่ละพื้นที่
ความร่วมมือส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่ประสบปัญหา และสนับสนุนเยาวชนเข้ามามีส่วนร่วม
กิจกรรมใช้ทุนของชุมชน และพบบางชุมชนมีการบันทึกข้อมูล ทำสถิติเพื่อเปรียบเทียบผล
ผลที่เกิดขึ้นชุมชนมีความปลอดภัยเพิ่มขึ้นทั้งในด้านการป้องกัน แก้ไข คุ้มครอง
และดูแล รวมทั้ง ชุมชนได้พัฒนาศักยภาพตนเองในการจัดการความรู้จากภายใน
และการประยุกต์ใช้ความรู้จากภายนอก ส่วนผลกระทบกิจกรรมความปลอดภัย
ได้รับความสนใจของประชาชนในชุมชน ไม่เฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
และได้รับการยอมรับจากหน่วยงานภายนอกอื่นต่อกิจกรรมที่ชุมชนดำเนินการขึ้น
นอกจากนี้ชุมชนเริ่มให้ความสนใจในการรวบรวมข้อมูล เก็บข้อมูล
และได้เรียนรู้การประสานงานกับหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง
ในการทำให้กิจกรรมบรรลุตามเป้าหมาย ได้ส่งเสริมให้มีคนรุ่นใหม่
และเยาวชน เข้ามาร่วมมากขึ้น รวมทั้งสร้างความคิดที่จะขยายไปสู่
ความปลอดภัยในเรื่องอื่น ๆ
หลังจากการแลกเปลี่ยนบทเรียนการจัดความปลอดภัยของชุมชนท้องถิ่นแล้ว
จึงเห็นว่าควรได้กำหนดการทำงานและขับเคลื่อนชุมชนปลอดภัย ไว้ดังนี้
สร้างนิยามของชุมชนปลอดภัย คือ
ชุมชนที่มีความสุขทั้งกายและใจ หมายถึง ชุมชนมีความสุขทั้งกายและใจ
ถ้าปราศจากภัยทุกชนิด โดยชุมชนต้องมีกติกาเดียวกัน มีความสามัคคี
มีส่วนร่วมในกิจกรรม มีผู้นำธรรมชาติ มีกรรมการบริหารกิจกรรม มีการทำแผนชุมชน
การประชุมอย่างต่อเนื่องและมีความร่วมมือกับภาคีหน่วยงานในท้องถิ่น
ลักษณะของกิจกรรมด้านความปลอดภัยของชุมชน
เป็นการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผนวกกับความรู้จากภายนอก เป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน
ดังนั้น จึงมีกิจกรรมหลากหลายสอดคล้องกับปัญหาและสภาพแต่ละพื้นที่
ความร่วมมือส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่ประสบปัญหา และสนับสนุนเยาวชนเข้ามามีส่วนร่วม
กิจกรรมใช้ทุนของชุมชน และพบบางชุมชนมีการบันทึกข้อมูล ทำสถิติเพื่อเปรียบเทียบผล
ผลที่เกิดขึ้นชุมชนมีความปลอดภัยเพิ่มขึ้นทั้งในด้านการป้องกัน แก้ไข คุ้มครอง
และดูแล รวมทั้ง ชุมชนได้พัฒนาศักยภาพตนเองในการจัดการความรู้จากภายใน
และการประยุกต์ใช้ความรู้จากภายนอก ส่วนผลกระทบกิจกรรมความปลอดภัย
ได้รับความสนใจของประชาชนในชุมชน ไม่เฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
และได้รับการยอมรับจากหน่วยงานภายนอกอื่นต่อกิจกรรมที่ชุมชนดำเนินการขึ้น
นอกจากนี้ชุมชนเริ่มให้ความสนใจในการรวบรวมข้อมูล เก็บข้อมูล
และได้เรียนรู้การประสานงานกับหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง
ในการทำให้กิจกรรมบรรลุตามเป้าหมาย ได้ส่งเสริมให้มีคนรุ่นใหม่
และเยาวชน เข้ามาร่วมมากขึ้น รวมทั้งสร้างความคิดที่จะขยายไปสู่
ความปลอดภัยในเรื่องอื่น ๆ

วันเสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การช่วยเหลือผู้ประสบภัย


ความหมายของประชาสังคม (Civil Society) องค์ประกอบของกระบวนการประชาสังคม

ความหมายของประชาสังคม  (Civil  Society)
ประชาสังคม มาจากภาษาอังกฤษว่า Civil Society  เป็นการรวมกลุ่มของประชาชน ได้แก่ เครือข่าย  กลุ่ม  ชมรม  สมาคม  มูลนิธิ  สถาบัน  องค์กร หรือชุมชนที่มีกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางสังคม เป็นต้น  เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาสังคมให้หมดไป  เน้นการแก้ปัญหามวลรวมของสังคมเป็นใหญ่ โดยมุ่งเน้นถึงประโยชน์ระยะยาวของชาติและประชาชนเป็นสำคัญ วิธีการแก้ปัญหานี้อาจสร้างความไม่พอใจให้แก่ประชาชนบางกลุ่ม  แต่แนวนโยบายนี้เน้นการขับเคลื่อนของประชาชนมวลรวมเป็นหลัก ในการมีส่วนร่วมเข้ามาแก้ปัญหา ไม่ใช่ให้เพียงกลุ่มคนใดเข้ามาแก้ไขเพียงกลุ่มเดียว
 องค์ประกอบของกระบวนการประชาสังคม
กิจกรรมหรือกระบวนการที่จะเรียกว่าเป็นประชาสังคมได้นั้น จะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ ๓ ส่วนได้แก่
. จิตสำนึกประชาสังคม หมายถึง ความคิดและความยอมรับในเรื่องการรวมตัวกันอย่างอิสระด้วยความรัก ความเอื้ออาทร ความยอมรับในความคิดเห็นของกันและกัน ในอันที่จะเรียนรู้ร่วมกันหรือแก้ไขปัญหาที่เผชิญอยู่
. โครงสร้างองค์กรประชาสังคม หมายถึง กลุ่มการรวมตัวซึ่งอาจเป็นองค์กรที่เป็นทางการหรือไม่เป็นทางการก็ได้ เป็นกลุ่มที่รวมตัวกันเฉพาะคราว เฉพาะเรื่องหรือต่อเนื่องก็ได้ สมาชิกของกลุ่มอาจเป็นบุคคลในภาครัฐ ภาคธุรกิจ หรือประชาชน หรือรวมกันอยู่ก็ได้ จำนวนสมาชิกมีได้มากไม่จำกัด แต่อย่างน้อยที่สุดต้องมี ๒ คน และการรวมตัวจะเป็นประชาสังคมได้นั้นจะต้องมีจิตสำนักประชาสังคมครบถ้วน

การจดจำตำหนิรูปพรรณบุคคล และยานพาหนะคนร้าย

การจดจำตำหนิรูปพรรณของคนร้าย      ยานพาหนะของคนร้ายได้ดีนั้นมีความสำคัญมากต่อการสืบสวนจับกุมผู้กระทำความผิดมาลงโทษ ทั้งนี้เนื่องจากถ้าท่านสามารถ
จดรูปร่างหน้าตาตำหนิรูปพรรณของคนร้าย และลักษณะรูปพรรณคล้ายกับข้อมูลของท่าน หรือนำไปสเกตช์ภาพคนร้ายแล้วประกาศ
สืบจับโดยทั่วไป ส่วนยานพาหนะที่ใช้นั้นย่อมเป็นแนวทางในการสืบสวนไปถึงตัวผู้เป็นเจ้าของและผู้ที่ใช้ยานพาหนะนั้นซึ่งอาจสันนิษฐาน
ได้ว่าเป็นคนร้ายที่ได้กระทำความผิดอันเป็นประโยชน์ต่อการสืบสวนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นอย่างยิ่งในผลงานของตำรวจ
ที่ผ่านมาเป็นจำนวนมากที่พลเมืองดีเช่นท่านทั้งหลาย ได้แสดงความสามารถในการสังเกตจดจำตำหนิรูปพรรณคนร้าย และยานพาหนะ
ที่ใช้เป็นอย่างดีเป็นผลให้ตำรวจสามารถพิชิตคดีสำคัญๆแล้วได้ตัวคนร้ายมาลงโทษในที่สุด ดังนั้น เพื่อเป็นการผนึกกำลังร่วมกันระหว่าง
ตำรวจกับประชาชนในอันที่จะป้องกันปราบปรามอาชญากรรม การก่อความวุ่นวายต่างๆ พวกเราต้องช่วยกันทุกวิถีทางในอันที่จะป้องกันมิให้
เกิดเหตุหรือหากมีเกิดขึ้นเราก็สามารถจดจำข้อมูลของคนร้ายและนำมาลงโทษได้ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยความปลอดภัยแก่สังคม หรือ
สถานที่ที่ท่านดูแลรักษาให้คงอยู่ตลอดไปในการนี้จึงขอแนะนำวิธีการจดจำตำหนิรูปพรรณคนร้ายลักษณะยานพาหนะต่างๆ มาให้ท่านได้ทราบ
เพื่อเป็นแนวทางในการสังเกตจดจำและโดยเฉพาะอย่างยิ่งตำหนิรูปพรรณของคนร้ายหากท่านสามารถจดจำรายละเอียดได้มาก โอกาสที่ทางตำรวจ
จะจับกุมคนร้ายก็มีมากขึ้นด้วย การสังเกตจดจำตำหนิรูปพรรณบุคคล หรือคนร้าย

1. หลักการของการสังเกตจดจำตำหนิรูปพรรณ มีดังนี้

2. สิ่งที่สามารถจดจำได้ง่าย และควรจดจำก่อน
3. สิ่งที่เป็นจุดเด่นผิดปกติ ตำหนิ ที่อาจจดจำได้ง่าย

กิจกรรมการสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชน


โครงการเพื่อนบ้านเตือนภัย
เมื่อมีเหตุร้ายเกิดขึ้น ถ้าท่านแจ้งเหตุให้ตำรวจทราบเร็วเท่าใดโอกาสที่คนร้ายจะหลบหนี           รอดมือตำรวจไปได้ก็มีน้อย เพราะตำรวจจะต้องรีบไปยังที่เกิดเหตุเพื่อทำการจับกุมทันที
ในกรณีที่ไม่อาจแจ้งภัยได้เองอันเกิดจากคนร้าย จับขัง คนร้ายขู่บังคับ จำเป็นที่ท่านจะต้องหาวิธีแจ้งภัยด้วยความร่วมมือกันกับเพื่อนบ้านข้างเคียงตามโครงการเพื่อนบ้านเตือนภัย โดยมี หลักการดังนี้
๑.     ถ้ามีเหตุร้ายเกิดขึ้นที่บ้านของท่าน เพื่อนบ้านข้างเคียงควรจะรับทราบและแจ้งภัยแทน           ตัวท่าน
๒.  การที่เพื่อนบ้านจะทราบภัยของท่านได้ก็ด้วยการแลกเปลี่ยนกันติดตั้งกระดิ่งหรือกริ่ง เตือนภัย คือ ท่านติดกระดิ่งหรือกริ่งไว้ที่บ้านเพื่อนบ้านและเพื่อนบ้านก็ติดกระดิ่งหรือกริ่งไว้ที่บ้านของท่าน เมื่อบ้านใดมีเหตุร้ายเกิดขึ้นพอกดสวิตช์สัญญาณภัยจะไปดังอีกบ้าน เพื่อนบ้านก็ทำหน้าที่แจ้งตำรวจให้มาตรวจสอบทันที
๓.   กระดิ่งหรือกริ่งนี้ ก็คือกระดิ่งหรือกริ่งธรรมดาที่ใช้ติดตั้งตามบ้าน ราคาประมาณ ชุดละ ๒๐๐-๓๐๐ บาท ถือว่าคุ้มอย่างมากกับการที่ท่านต้องสูญเสียทรัพย์สินอื่นๆ ที่คนร้ายเอาไปและหลบหนีไปได้
๔.   การติดตั้งสวิตช์ควรซ่อนไว้ในที่ลับ เช่น ห้องน้ำ ห้องนอน ห้องเก็บของตามแต่               ความเหมาะสมของแต่ละบ้าน
๕.   การแจ้งเหตุร้ายเมื่อได้รับส่งสัญญาณเตือนภัย ควรโทร.หมายเลข ๑๙๑ หรือ โทร. ๑๒๓           เพื่อแจ้งเหตุ โดยระบุสถานที่เกิดเหตุและสถานที่ใกล้เคียงเพื่อให้ตำรวจได้รีบไปอย่างเร็วที่สุดได้

แนวทางการสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชน

แนวทางการสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชน
การสร้างเสริมความปลอดภัยเพื่อให้ชุมชนเข้มแข็งและปลอดภัย สามารถดำเนินการตามแนวทางดังต่อไปนี้
๑.    จัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงานด้านการส่งเสริมความปลอดภัยในชุมชน โดยมีตัวแทนจากประชาชนเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการด้วย
๒.  จัดทำแผนป้องกันอุบัติเหตุ ภัยอันตราย และความรุนแรงต่างๆ ซึ่งประกอบด้วย แผนการบังคับบัญชา การสื่อสาร การฝึกซ้อมหนีภัยต่างๆ การปฏิบัติเพื่อความปลอดภัย การอพยพ เคลื่อนย้าย การรักษาพยาบาล
๓.   จัดตั้งชมรมอาสาสมัครป้องกันภัยหรือส่งเสริมความปลอดภัยในชุมชน เช่น ชมรมแม่บ้าน ชมรมพ่อบ้าน ชมรมเยาวชน ชมรมเด็กอาสาป้องกันภัย เป็นต้น
๔.   ศึกษาข้อมูลหรือสำรวจสภาพปัญหา ความต้องการ และความสนใจของประชาชนใน                การป้องกันอุบัติเหตุ ภัยอันตราย และความรุนแรงต่างๆ
๕.    จัดให้มีการฝึกอบรมในเรื่องความปลอดภัยแก่เยาวชนและประชาชนในชุมชน
๖.   จัดโครงการส่งเสริมความปลอดภัยในชุมชน เช่น โครงการวัยรุ่นดีเด่นด้านความปลอดภัย โครงการฝากบ้านไว้กับตำรวจ โครงการเยาวชนพ้นภัย โครงการเยาวชนต้านภัยยาเสพติด โครงการป้องกันอัคคีภัย โครงการประกวดหมู่บ้านปลอดภัย เป็นต้น
๗.    จัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันภัย อุบัติเหตุ และความรุนแรงต่างๆ โดยให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในมากที่สุด
๘.   จัดให้มีการเผยแพร่ความรู้ในเรื่องความปลอดภัยในชุมชนโดยผ่านสื่อต่างๆ เช่น หอกระจายข่าว โทรทัศน์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ รายการวิทยุ “เพื่อนช่วยเพื่อน” หรือ “ร่วมด้วยช่วยกัน”         เป็นต้น
๙.   จัดกิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัยในช่วงเทศกาลต่างๆ เช่น วันเด็ก วันแม่ วันพ่อ วันครู วันขึ้นปีใหม่ วันสงกรานต์ วันวิสาขบูชา วันเข้าพรรษา เป็นต้น

การระวังภัยภายในหมู่บ้าน

การระวังภัยภายในหมู่บ้าน
เนื่องจากมนุษย์เป็นสัตว์สังคม จึงนิยมปลูกสร้างบ้านเรือนอยู่รวมกัน ทั้งนี้เพื่อจะได้พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันเมื่อถึงคราวจำเป็น อีกทั้งเพื่อความอบอุ่นและปลอดภัยในการดำรงชีพด้วย สำหรับในเรื่อง                การสร้างเสริมความเข้มแข็งและความปลอดภัยในหมู่บ้านนั้น มีข้อเสนอแนะดังนี้
๑.           ควรทำความรู้จักเพื่อนบ้าน  เราควรทำความรู้จักและพูดคุยกับเพื่อนบ้านบ้างตามสมควร เช่น เรื่องภูมิหลังทั่วไปเกี่ยวกับอาชีพ ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม เป็นต้น และควรจะสนทนากัน ถึงเรื่องอุบัติภัยหรือความปลอดภัยในหมู่บ้านบ้างเป็นครั้งคราว เพื่อนบ้านอาจจะรู้เรื่องราวข่าวคราวหรือเบาะแสเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ ซึ่งจะช่วยทำให้เราเข้าใจประเด็นปัญหาและภูมิหลังทั่วๆ ไป ของหมู่บ้าน ได้ดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเราเพิ่งจะเข้าไปอาศัยอยู่ในหมู่บ้านใหม่ๆ
๒.          คอยสังเกตพฤติกรรมของคนเข้า-ออก ภายในหมู่บ้าน  หากเราพบว่ามีอะไรพิรุธหรือผิดสังเกตควรจะรีบเล่าให้สมาชิกทุกคนในบ้านทราบ เพื่อจะได้ช่วยกันเป็นหูเป็นตาและคอยติดตามความเคลื่อนไหวของบุคคลหรือสิ่งที่สงสัยเหล่านั้นในโอกาสต่อไป แต่ถ้าพบเหตุการณ์หรือพฤติกรรมซ้ำๆ เช่น มีคนขับมอเตอร์ไซค์หรือรถเก๋งมาจอดซุ่มอยู่เป็นประจำ ในจุดที่เปลี่ยวหรือล่อแหลมต่อภัยอันตราย เราควรจะรีบแจ้งตำรวจ สายตรวจ หรือป้อมตำรวจใกล้ๆ บ้านให้ทราบ
๓.           ร่วมมือกันจัดยามคอยระวังเหตุ  ในหลายพื้นที่ที่ล่อแหลมต่ออันตรายเพราะมีอุบัติเหตุ หรือการโจรกรรมเกิดขึ้นบ่อย ชาวบ้านมักจะร่วมมือกันจัดเวรยามคอยระวังเหตุภายในหมู่บ้านของตนขึ้นตามจุดต่างๆ เพื่อแจ้งเหตุให้ทุกคนทราบว่า กำลังมีคนแปลกปลอมเข้ามาในหมู่บ้าน เป็นต้น
ควรรู้จักแหล่งที่จะให้ความช่วยเหลือเมื่อฉุกเฉิน  แต่ละหมู่บ้านไม่ว่าจะเป็นในเมืองหรือชนบท ย่อมจะมีแหล่งบริการให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับเรื่องอุบัติเหตุหรืออุบัติภัยอยู่เสมอ เพียงแต่แหล่งเหล่านี้อาจจะอยู่ใกล้หรือไกลบ้านเท่านั้น แหล่งบริการอาจจะเป็นทั้งหน่วยงานของทางราชการ หรือทางเอกชนก็ได้ ตัวอย่างเช่น ที่ทำการของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน