ค้นหาบล็อกนี้

วันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ลักษณะของกิจกรรมด้านความปลอดภัยของชุมชน
เป็นการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผนวกกับความรู้จากภายนอก เป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน
ดังนั้น จึงมีกิจกรรมหลากหลายสอดคล้องกับปัญหาและสภาพแต่ละพื้นที่
ความร่วมมือส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่ประสบปัญหา และสนับสนุนเยาวชนเข้ามามีส่วนร่วม
กิจกรรมใช้ทุนของชุมชน และพบบางชุมชนมีการบันทึกข้อมูล ทำสถิติเพื่อเปรียบเทียบผล
ผลที่เกิดขึ้นชุมชนมีความปลอดภัยเพิ่มขึ้นทั้งในด้านการป้องกัน แก้ไข คุ้มครอง
และดูแล รวมทั้ง ชุมชนได้พัฒนาศักยภาพตนเองในการจัดการความรู้จากภายใน
และการประยุกต์ใช้ความรู้จากภายนอก ส่วนผลกระทบกิจกรรมความปลอดภัย
ได้รับความสนใจของประชาชนในชุมชน ไม่เฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
และได้รับการยอมรับจากหน่วยงานภายนอกอื่นต่อกิจกรรมที่ชุมชนดำเนินการขึ้น
นอกจากนี้ชุมชนเริ่มให้ความสนใจในการรวบรวมข้อมูล เก็บข้อมูล
และได้เรียนรู้การประสานงานกับหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง
ในการทำให้กิจกรรมบรรลุตามเป้าหมาย ได้ส่งเสริมให้มีคนรุ่นใหม่
และเยาวชน เข้ามาร่วมมากขึ้น รวมทั้งสร้างความคิดที่จะขยายไปสู่
ความปลอดภัยในเรื่องอื่น ๆ
หลังจากการแลกเปลี่ยนบทเรียนการจัดความปลอดภัยของชุมชนท้องถิ่นแล้ว
จึงเห็นว่าควรได้กำหนดการทำงานและขับเคลื่อนชุมชนปลอดภัย ไว้ดังนี้
สร้างนิยามของชุมชนปลอดภัย คือ
ชุมชนที่มีความสุขทั้งกายและใจ หมายถึง ชุมชนมีความสุขทั้งกายและใจ
ถ้าปราศจากภัยทุกชนิด โดยชุมชนต้องมีกติกาเดียวกัน มีความสามัคคี
มีส่วนร่วมในกิจกรรม มีผู้นำธรรมชาติ มีกรรมการบริหารกิจกรรม มีการทำแผนชุมชน
การประชุมอย่างต่อเนื่องและมีความร่วมมือกับภาคีหน่วยงานในท้องถิ่น
ลักษณะของกิจกรรมด้านความปลอดภัยของชุมชน
เป็นการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผนวกกับความรู้จากภายนอก เป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน
ดังนั้น จึงมีกิจกรรมหลากหลายสอดคล้องกับปัญหาและสภาพแต่ละพื้นที่
ความร่วมมือส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่ประสบปัญหา และสนับสนุนเยาวชนเข้ามามีส่วนร่วม
กิจกรรมใช้ทุนของชุมชน และพบบางชุมชนมีการบันทึกข้อมูล ทำสถิติเพื่อเปรียบเทียบผล
ผลที่เกิดขึ้นชุมชนมีความปลอดภัยเพิ่มขึ้นทั้งในด้านการป้องกัน แก้ไข คุ้มครอง
และดูแล รวมทั้ง ชุมชนได้พัฒนาศักยภาพตนเองในการจัดการความรู้จากภายใน
และการประยุกต์ใช้ความรู้จากภายนอก ส่วนผลกระทบกิจกรรมความปลอดภัย
ได้รับความสนใจของประชาชนในชุมชน ไม่เฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
และได้รับการยอมรับจากหน่วยงานภายนอกอื่นต่อกิจกรรมที่ชุมชนดำเนินการขึ้น
นอกจากนี้ชุมชนเริ่มให้ความสนใจในการรวบรวมข้อมูล เก็บข้อมูล
และได้เรียนรู้การประสานงานกับหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง
ในการทำให้กิจกรรมบรรลุตามเป้าหมาย ได้ส่งเสริมให้มีคนรุ่นใหม่
และเยาวชน เข้ามาร่วมมากขึ้น รวมทั้งสร้างความคิดที่จะขยายไปสู่
ความปลอดภัยในเรื่องอื่น ๆ
หลังจากการแลกเปลี่ยนบทเรียนการจัดความปลอดภัยของชุมชนท้องถิ่นแล้ว
จึงเห็นว่าควรได้กำหนดการทำงานและขับเคลื่อนชุมชนปลอดภัย ไว้ดังนี้
สร้างนิยามของชุมชนปลอดภัย คือ
ชุมชนที่มีความสุขทั้งกายและใจ หมายถึง ชุมชนมีความสุขทั้งกายและใจ
ถ้าปราศจากภัยทุกชนิด โดยชุมชนต้องมีกติกาเดียวกัน มีความสามัคคี
มีส่วนร่วมในกิจกรรม มีผู้นำธรรมชาติ มีกรรมการบริหารกิจกรรม มีการทำแผนชุมชน
การประชุมอย่างต่อเนื่องและมีความร่วมมือกับภาคีหน่วยงานในท้องถิ่น
ลักษณะของกิจกรรมด้านความปลอดภัยของชุมชน
เป็นการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผนวกกับความรู้จากภายนอก เป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน
ดังนั้น จึงมีกิจกรรมหลากหลายสอดคล้องกับปัญหาและสภาพแต่ละพื้นที่
ความร่วมมือส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่ประสบปัญหา และสนับสนุนเยาวชนเข้ามามีส่วนร่วม
กิจกรรมใช้ทุนของชุมชน และพบบางชุมชนมีการบันทึกข้อมูล ทำสถิติเพื่อเปรียบเทียบผล
ผลที่เกิดขึ้นชุมชนมีความปลอดภัยเพิ่มขึ้นทั้งในด้านการป้องกัน แก้ไข คุ้มครอง
และดูแล รวมทั้ง ชุมชนได้พัฒนาศักยภาพตนเองในการจัดการความรู้จากภายใน
และการประยุกต์ใช้ความรู้จากภายนอก ส่วนผลกระทบกิจกรรมความปลอดภัย
ได้รับความสนใจของประชาชนในชุมชน ไม่เฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
และได้รับการยอมรับจากหน่วยงานภายนอกอื่นต่อกิจกรรมที่ชุมชนดำเนินการขึ้น
นอกจากนี้ชุมชนเริ่มให้ความสนใจในการรวบรวมข้อมูล เก็บข้อมูล
และได้เรียนรู้การประสานงานกับหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง
ในการทำให้กิจกรรมบรรลุตามเป้าหมาย ได้ส่งเสริมให้มีคนรุ่นใหม่
และเยาวชน เข้ามาร่วมมากขึ้น รวมทั้งสร้างความคิดที่จะขยายไปสู่
ความปลอดภัยในเรื่องอื่น ๆ
หลังจากการแลกเปลี่ยนบทเรียนการจัดความปลอดภัยของชุมชนท้องถิ่นแล้ว
จึงเห็นว่าควรได้กำหนดการทำงานและขับเคลื่อนชุมชนปลอดภัย ไว้ดังนี้
สร้างนิยามของชุมชนปลอดภัย คือ
ชุมชนที่มีความสุขทั้งกายและใจ หมายถึง ชุมชนมีความสุขทั้งกายและใจ
ถ้าปราศจากภัยทุกชนิด โดยชุมชนต้องมีกติกาเดียวกัน มีความสามัคคี
มีส่วนร่วมในกิจกรรม มีผู้นำธรรมชาติ มีกรรมการบริหารกิจกรรม มีการทำแผนชุมชน
การประชุมอย่างต่อเนื่องและมีความร่วมมือกับภาคีหน่วยงานในท้องถิ่น
ลักษณะของกิจกรรมด้านความปลอดภัยของชุมชน
เป็นการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผนวกกับความรู้จากภายนอก เป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน
ดังนั้น จึงมีกิจกรรมหลากหลายสอดคล้องกับปัญหาและสภาพแต่ละพื้นที่
ความร่วมมือส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่ประสบปัญหา และสนับสนุนเยาวชนเข้ามามีส่วนร่วม
กิจกรรมใช้ทุนของชุมชน และพบบางชุมชนมีการบันทึกข้อมูล ทำสถิติเพื่อเปรียบเทียบผล
ผลที่เกิดขึ้นชุมชนมีความปลอดภัยเพิ่มขึ้นทั้งในด้านการป้องกัน แก้ไข คุ้มครอง
และดูแล รวมทั้ง ชุมชนได้พัฒนาศักยภาพตนเองในการจัดการความรู้จากภายใน
และการประยุกต์ใช้ความรู้จากภายนอก ส่วนผลกระทบกิจกรรมความปลอดภัย
ได้รับความสนใจของประชาชนในชุมชน ไม่เฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
และได้รับการยอมรับจากหน่วยงานภายนอกอื่นต่อกิจกรรมที่ชุมชนดำเนินการขึ้น
นอกจากนี้ชุมชนเริ่มให้ความสนใจในการรวบรวมข้อมูล เก็บข้อมูล
และได้เรียนรู้การประสานงานกับหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง
ในการทำให้กิจกรรมบรรลุตามเป้าหมาย ได้ส่งเสริมให้มีคนรุ่นใหม่
และเยาวชน เข้ามาร่วมมากขึ้น รวมทั้งสร้างความคิดที่จะขยายไปสู่
ความปลอดภัยในเรื่องอื่น ๆ

วันเสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การช่วยเหลือผู้ประสบภัย


ความหมายของประชาสังคม (Civil Society) องค์ประกอบของกระบวนการประชาสังคม

ความหมายของประชาสังคม  (Civil  Society)
ประชาสังคม มาจากภาษาอังกฤษว่า Civil Society  เป็นการรวมกลุ่มของประชาชน ได้แก่ เครือข่าย  กลุ่ม  ชมรม  สมาคม  มูลนิธิ  สถาบัน  องค์กร หรือชุมชนที่มีกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางสังคม เป็นต้น  เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาสังคมให้หมดไป  เน้นการแก้ปัญหามวลรวมของสังคมเป็นใหญ่ โดยมุ่งเน้นถึงประโยชน์ระยะยาวของชาติและประชาชนเป็นสำคัญ วิธีการแก้ปัญหานี้อาจสร้างความไม่พอใจให้แก่ประชาชนบางกลุ่ม  แต่แนวนโยบายนี้เน้นการขับเคลื่อนของประชาชนมวลรวมเป็นหลัก ในการมีส่วนร่วมเข้ามาแก้ปัญหา ไม่ใช่ให้เพียงกลุ่มคนใดเข้ามาแก้ไขเพียงกลุ่มเดียว
 องค์ประกอบของกระบวนการประชาสังคม
กิจกรรมหรือกระบวนการที่จะเรียกว่าเป็นประชาสังคมได้นั้น จะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ ๓ ส่วนได้แก่
. จิตสำนึกประชาสังคม หมายถึง ความคิดและความยอมรับในเรื่องการรวมตัวกันอย่างอิสระด้วยความรัก ความเอื้ออาทร ความยอมรับในความคิดเห็นของกันและกัน ในอันที่จะเรียนรู้ร่วมกันหรือแก้ไขปัญหาที่เผชิญอยู่
. โครงสร้างองค์กรประชาสังคม หมายถึง กลุ่มการรวมตัวซึ่งอาจเป็นองค์กรที่เป็นทางการหรือไม่เป็นทางการก็ได้ เป็นกลุ่มที่รวมตัวกันเฉพาะคราว เฉพาะเรื่องหรือต่อเนื่องก็ได้ สมาชิกของกลุ่มอาจเป็นบุคคลในภาครัฐ ภาคธุรกิจ หรือประชาชน หรือรวมกันอยู่ก็ได้ จำนวนสมาชิกมีได้มากไม่จำกัด แต่อย่างน้อยที่สุดต้องมี ๒ คน และการรวมตัวจะเป็นประชาสังคมได้นั้นจะต้องมีจิตสำนักประชาสังคมครบถ้วน

การจดจำตำหนิรูปพรรณบุคคล และยานพาหนะคนร้าย

การจดจำตำหนิรูปพรรณของคนร้าย      ยานพาหนะของคนร้ายได้ดีนั้นมีความสำคัญมากต่อการสืบสวนจับกุมผู้กระทำความผิดมาลงโทษ ทั้งนี้เนื่องจากถ้าท่านสามารถ
จดรูปร่างหน้าตาตำหนิรูปพรรณของคนร้าย และลักษณะรูปพรรณคล้ายกับข้อมูลของท่าน หรือนำไปสเกตช์ภาพคนร้ายแล้วประกาศ
สืบจับโดยทั่วไป ส่วนยานพาหนะที่ใช้นั้นย่อมเป็นแนวทางในการสืบสวนไปถึงตัวผู้เป็นเจ้าของและผู้ที่ใช้ยานพาหนะนั้นซึ่งอาจสันนิษฐาน
ได้ว่าเป็นคนร้ายที่ได้กระทำความผิดอันเป็นประโยชน์ต่อการสืบสวนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นอย่างยิ่งในผลงานของตำรวจ
ที่ผ่านมาเป็นจำนวนมากที่พลเมืองดีเช่นท่านทั้งหลาย ได้แสดงความสามารถในการสังเกตจดจำตำหนิรูปพรรณคนร้าย และยานพาหนะ
ที่ใช้เป็นอย่างดีเป็นผลให้ตำรวจสามารถพิชิตคดีสำคัญๆแล้วได้ตัวคนร้ายมาลงโทษในที่สุด ดังนั้น เพื่อเป็นการผนึกกำลังร่วมกันระหว่าง
ตำรวจกับประชาชนในอันที่จะป้องกันปราบปรามอาชญากรรม การก่อความวุ่นวายต่างๆ พวกเราต้องช่วยกันทุกวิถีทางในอันที่จะป้องกันมิให้
เกิดเหตุหรือหากมีเกิดขึ้นเราก็สามารถจดจำข้อมูลของคนร้ายและนำมาลงโทษได้ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยความปลอดภัยแก่สังคม หรือ
สถานที่ที่ท่านดูแลรักษาให้คงอยู่ตลอดไปในการนี้จึงขอแนะนำวิธีการจดจำตำหนิรูปพรรณคนร้ายลักษณะยานพาหนะต่างๆ มาให้ท่านได้ทราบ
เพื่อเป็นแนวทางในการสังเกตจดจำและโดยเฉพาะอย่างยิ่งตำหนิรูปพรรณของคนร้ายหากท่านสามารถจดจำรายละเอียดได้มาก โอกาสที่ทางตำรวจ
จะจับกุมคนร้ายก็มีมากขึ้นด้วย การสังเกตจดจำตำหนิรูปพรรณบุคคล หรือคนร้าย

1. หลักการของการสังเกตจดจำตำหนิรูปพรรณ มีดังนี้

2. สิ่งที่สามารถจดจำได้ง่าย และควรจดจำก่อน
3. สิ่งที่เป็นจุดเด่นผิดปกติ ตำหนิ ที่อาจจดจำได้ง่าย

กิจกรรมการสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชน


โครงการเพื่อนบ้านเตือนภัย
เมื่อมีเหตุร้ายเกิดขึ้น ถ้าท่านแจ้งเหตุให้ตำรวจทราบเร็วเท่าใดโอกาสที่คนร้ายจะหลบหนี           รอดมือตำรวจไปได้ก็มีน้อย เพราะตำรวจจะต้องรีบไปยังที่เกิดเหตุเพื่อทำการจับกุมทันที
ในกรณีที่ไม่อาจแจ้งภัยได้เองอันเกิดจากคนร้าย จับขัง คนร้ายขู่บังคับ จำเป็นที่ท่านจะต้องหาวิธีแจ้งภัยด้วยความร่วมมือกันกับเพื่อนบ้านข้างเคียงตามโครงการเพื่อนบ้านเตือนภัย โดยมี หลักการดังนี้
๑.     ถ้ามีเหตุร้ายเกิดขึ้นที่บ้านของท่าน เพื่อนบ้านข้างเคียงควรจะรับทราบและแจ้งภัยแทน           ตัวท่าน
๒.  การที่เพื่อนบ้านจะทราบภัยของท่านได้ก็ด้วยการแลกเปลี่ยนกันติดตั้งกระดิ่งหรือกริ่ง เตือนภัย คือ ท่านติดกระดิ่งหรือกริ่งไว้ที่บ้านเพื่อนบ้านและเพื่อนบ้านก็ติดกระดิ่งหรือกริ่งไว้ที่บ้านของท่าน เมื่อบ้านใดมีเหตุร้ายเกิดขึ้นพอกดสวิตช์สัญญาณภัยจะไปดังอีกบ้าน เพื่อนบ้านก็ทำหน้าที่แจ้งตำรวจให้มาตรวจสอบทันที
๓.   กระดิ่งหรือกริ่งนี้ ก็คือกระดิ่งหรือกริ่งธรรมดาที่ใช้ติดตั้งตามบ้าน ราคาประมาณ ชุดละ ๒๐๐-๓๐๐ บาท ถือว่าคุ้มอย่างมากกับการที่ท่านต้องสูญเสียทรัพย์สินอื่นๆ ที่คนร้ายเอาไปและหลบหนีไปได้
๔.   การติดตั้งสวิตช์ควรซ่อนไว้ในที่ลับ เช่น ห้องน้ำ ห้องนอน ห้องเก็บของตามแต่               ความเหมาะสมของแต่ละบ้าน
๕.   การแจ้งเหตุร้ายเมื่อได้รับส่งสัญญาณเตือนภัย ควรโทร.หมายเลข ๑๙๑ หรือ โทร. ๑๒๓           เพื่อแจ้งเหตุ โดยระบุสถานที่เกิดเหตุและสถานที่ใกล้เคียงเพื่อให้ตำรวจได้รีบไปอย่างเร็วที่สุดได้

แนวทางการสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชน

แนวทางการสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชน
การสร้างเสริมความปลอดภัยเพื่อให้ชุมชนเข้มแข็งและปลอดภัย สามารถดำเนินการตามแนวทางดังต่อไปนี้
๑.    จัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงานด้านการส่งเสริมความปลอดภัยในชุมชน โดยมีตัวแทนจากประชาชนเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการด้วย
๒.  จัดทำแผนป้องกันอุบัติเหตุ ภัยอันตราย และความรุนแรงต่างๆ ซึ่งประกอบด้วย แผนการบังคับบัญชา การสื่อสาร การฝึกซ้อมหนีภัยต่างๆ การปฏิบัติเพื่อความปลอดภัย การอพยพ เคลื่อนย้าย การรักษาพยาบาล
๓.   จัดตั้งชมรมอาสาสมัครป้องกันภัยหรือส่งเสริมความปลอดภัยในชุมชน เช่น ชมรมแม่บ้าน ชมรมพ่อบ้าน ชมรมเยาวชน ชมรมเด็กอาสาป้องกันภัย เป็นต้น
๔.   ศึกษาข้อมูลหรือสำรวจสภาพปัญหา ความต้องการ และความสนใจของประชาชนใน                การป้องกันอุบัติเหตุ ภัยอันตราย และความรุนแรงต่างๆ
๕.    จัดให้มีการฝึกอบรมในเรื่องความปลอดภัยแก่เยาวชนและประชาชนในชุมชน
๖.   จัดโครงการส่งเสริมความปลอดภัยในชุมชน เช่น โครงการวัยรุ่นดีเด่นด้านความปลอดภัย โครงการฝากบ้านไว้กับตำรวจ โครงการเยาวชนพ้นภัย โครงการเยาวชนต้านภัยยาเสพติด โครงการป้องกันอัคคีภัย โครงการประกวดหมู่บ้านปลอดภัย เป็นต้น
๗.    จัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันภัย อุบัติเหตุ และความรุนแรงต่างๆ โดยให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในมากที่สุด
๘.   จัดให้มีการเผยแพร่ความรู้ในเรื่องความปลอดภัยในชุมชนโดยผ่านสื่อต่างๆ เช่น หอกระจายข่าว โทรทัศน์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ รายการวิทยุ “เพื่อนช่วยเพื่อน” หรือ “ร่วมด้วยช่วยกัน”         เป็นต้น
๙.   จัดกิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัยในช่วงเทศกาลต่างๆ เช่น วันเด็ก วันแม่ วันพ่อ วันครู วันขึ้นปีใหม่ วันสงกรานต์ วันวิสาขบูชา วันเข้าพรรษา เป็นต้น

การระวังภัยภายในหมู่บ้าน

การระวังภัยภายในหมู่บ้าน
เนื่องจากมนุษย์เป็นสัตว์สังคม จึงนิยมปลูกสร้างบ้านเรือนอยู่รวมกัน ทั้งนี้เพื่อจะได้พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันเมื่อถึงคราวจำเป็น อีกทั้งเพื่อความอบอุ่นและปลอดภัยในการดำรงชีพด้วย สำหรับในเรื่อง                การสร้างเสริมความเข้มแข็งและความปลอดภัยในหมู่บ้านนั้น มีข้อเสนอแนะดังนี้
๑.           ควรทำความรู้จักเพื่อนบ้าน  เราควรทำความรู้จักและพูดคุยกับเพื่อนบ้านบ้างตามสมควร เช่น เรื่องภูมิหลังทั่วไปเกี่ยวกับอาชีพ ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม เป็นต้น และควรจะสนทนากัน ถึงเรื่องอุบัติภัยหรือความปลอดภัยในหมู่บ้านบ้างเป็นครั้งคราว เพื่อนบ้านอาจจะรู้เรื่องราวข่าวคราวหรือเบาะแสเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ ซึ่งจะช่วยทำให้เราเข้าใจประเด็นปัญหาและภูมิหลังทั่วๆ ไป ของหมู่บ้าน ได้ดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเราเพิ่งจะเข้าไปอาศัยอยู่ในหมู่บ้านใหม่ๆ
๒.          คอยสังเกตพฤติกรรมของคนเข้า-ออก ภายในหมู่บ้าน  หากเราพบว่ามีอะไรพิรุธหรือผิดสังเกตควรจะรีบเล่าให้สมาชิกทุกคนในบ้านทราบ เพื่อจะได้ช่วยกันเป็นหูเป็นตาและคอยติดตามความเคลื่อนไหวของบุคคลหรือสิ่งที่สงสัยเหล่านั้นในโอกาสต่อไป แต่ถ้าพบเหตุการณ์หรือพฤติกรรมซ้ำๆ เช่น มีคนขับมอเตอร์ไซค์หรือรถเก๋งมาจอดซุ่มอยู่เป็นประจำ ในจุดที่เปลี่ยวหรือล่อแหลมต่อภัยอันตราย เราควรจะรีบแจ้งตำรวจ สายตรวจ หรือป้อมตำรวจใกล้ๆ บ้านให้ทราบ
๓.           ร่วมมือกันจัดยามคอยระวังเหตุ  ในหลายพื้นที่ที่ล่อแหลมต่ออันตรายเพราะมีอุบัติเหตุ หรือการโจรกรรมเกิดขึ้นบ่อย ชาวบ้านมักจะร่วมมือกันจัดเวรยามคอยระวังเหตุภายในหมู่บ้านของตนขึ้นตามจุดต่างๆ เพื่อแจ้งเหตุให้ทุกคนทราบว่า กำลังมีคนแปลกปลอมเข้ามาในหมู่บ้าน เป็นต้น
ควรรู้จักแหล่งที่จะให้ความช่วยเหลือเมื่อฉุกเฉิน  แต่ละหมู่บ้านไม่ว่าจะเป็นในเมืองหรือชนบท ย่อมจะมีแหล่งบริการให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับเรื่องอุบัติเหตุหรืออุบัติภัยอยู่เสมอ เพียงแต่แหล่งเหล่านี้อาจจะอยู่ใกล้หรือไกลบ้านเท่านั้น แหล่งบริการอาจจะเป็นทั้งหน่วยงานของทางราชการ หรือทางเอกชนก็ได้ ตัวอย่างเช่น ที่ทำการของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน

การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ควรอาศัยหลักการเดียวกับแนวปฏิบัติในการส่งเสริมสุขภาพ

ในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ควรอาศัยหลักการเดียวกับแนวปฏิบัติในการส่งเสริมสุขภาพ 5 ประการ ดังนี้
  1. การสร้างนโยบายสาธารณะเพื่อผู้สูงอายุ โดยเน้นให้ทุกคนในชุมชน หรือสังคม มีข้อตกลงทางสังคมร่วมกัน รับหลักการเดียวกันในการที่จะปฏิบัติเพื่อให้ทุกคนในชุมชน หรือสังคมมีสุขภาพที่ดี เช่น การกำหนดนโยบาย ไม่ให้มีการทอดทิ้ง ผู้สูงอายุในชุมชน นโยบายหมู่บ้านปลอดอุบัติเหตุ นโยบายครอบครัวอบอุ่น เป็นต้น
  2. สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพผู้สูงอายุ สิ่งแวดล้อมในที่นี้อาจจะเป็นสิ่งแวดล้อมที่เป็นรูปธรรม หรือนามธรรม สิ่งแวดล้อมที่เป็นรูปธรรมที่ใกล้ตัวผู้สูงอายุ ได้แก่ ครอบครัว ซึ่งจะต้องให้ความรักความเอาใจใส่ มีการเกื้อหนุนดูแลผู้สูงอายุ ขณะเดียวกันต้องมีปฏิสัมพันธ์ในเชิงรุก มีความเข้าใจกัน ชุมชน ก็เป็นสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบๆ ตัวผู้สูงอายุนั่นเอง ซึ่งต้องมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุในทุกๆ ด้าน การดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้าน และสิ่งที่อยู่อาศัยรอบๆ บ้าน ก็จะทำให้ผู้อยู่อาศัยรวมถึงผู้สูงอายุด้วยมีความอบอุ่น มีสุขภาพดี และปลอดจากอุบัติเหตุต่างๆ ส่วนสิ่งแวดล้อมที่เป็นนามธรรม เช่น ขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมในสังคม ซึ่งสังคมไทยมีข้อดีกว่าประเทศอื่นๆ ในหลายๆ ด้าน เช่น ให้ความเคารพกตัญญูกตเวทีต่อผู้สูงวัยปีประเพณีรดน้ำดำหัว รดน้ำสงกรานต์ เป็นต้น
  3. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ชุมชน จะต้องมีการรวมตัวกัน หรือรวมกลุ่มกันเพื่อที่จะดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ โดยการรวบรวมปัญหาต่างๆ นำมาวิเคราะห์วางแผน ดำเนินการ เพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ให้เป็นผู้สูงอายุที่สามารถแสดงศักยภาพได้ตามความถนัด เพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจในตนเอง เช่น การจัดให้มีการรวมกลุ่ม เพื่อให้มีกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ กิจกรรมทางด้านประเพณีวัฒนธรรมต่างๆ เช่น การฟังเทศน์ฟังธรรม เป็นต้น
  4. พัฒนาทักษะในการดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ โดยการให้ความรู้ ความเข้าใจแก่ผู้สูงอายุ บุคคลในครอบครัว และชุมชน ในเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางสรีระต่างๆ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ อารมณ์ และสังคมของผู้สูงอายุ ตลอดจนแนวทางการดูแลส่งเสริมสุขภาพโดยผ่านสื่อต่างๆ
  5. ปรับเปลี่ยนบริการทางด้านสาธารณสุข โดยเน้นทางด้านสุขภาพในเชิงรุกมากขึ้น เช่น มีการคัดกรองสุขภาพให้การดูแล ให้คำปรึกษาด้านสุขภาพ โดยให้บริการในลักษณะองค์รวม ให้ครอบคลุมทุกๆ ด้าน

การแจ้งความที่สถาณีตำรวจเมื่อเกิดเหตุความไม่ปลอดภัย

๑.     ควรรู้จักแหล่งที่จะให้ความช่วยเหลือเมื่อฉุกเฉิน  แต่ละหมู่บ้านไม่ว่าจะเป็นในเมืองหรือชนบท ย่อมจะมีแหล่งบริการให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับเรื่องอุบัติเหตุหรืออุบัติภัยอยู่เสมอ เพียงแต่แหล่งเหล่านี้อาจจะอยู่ใกล้หรือไกลบ้านเท่านั้น แหล่งบริการอาจจะเป็นทั้งหน่วยงานของทางราชการ หรือทางเอกชนก็ได้ ตัวอย่างเช่น ที่ทำการของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สถานีตำรวจภูธรหรือนครบาล โรงพยาบาล สถานีอนามัย สถานพยาบาล หรือคลินิกแพทย์ต่างๆ เป็นต้น แหล่งบริการเหล่านี้จะสามารถให้ความช่วยเหลือได้เป็นอย่างดี และในทำนองเดียวกันเราก็ควรให้ความร่วมมือกับแหล่งบริการดังกล่าวบ้างตามสมควร

แนวคิดการให้กระบวนการทางประชาสังคมสร้างเสริมความปลอดภัย

ในการสร้างเสริมความปลอดภัยให้ชุมชนเข้มแข็งและปลอดภัยนั้น ควรใช้แนวคิดหรือเทคนิค เกี่ยวกับกระบวนการทางประชาสังคม ดังนี้
๑.  แนวคิดเรื่องผู้นำชุมชน
ผู้นำชุมชนมีความสำคัญและมีบทบาทอย่างยิ่งในการสร้างหรือพัฒนาชุมชนให้เจริญก้าวหน้า และการสร้างเสริมความปลอดภัยในเรื่องการป้องกันอุบัติเหตุ ภัยอันตราย และความรุนแรงต่างๆ เหล่านี้            ผู้นำชุมชนย่อมเป็นกำลังที่สำคัญมาก ประเภทของผู้นำเหล่านี้ เช่น ผู้นำทางการปกครอง ผู้นำทางการเมือง          ผู้นำทางศาสนา ผู้นำทางสถานศึกษา เป็นต้น ส่วนบุคคลที่เป็นผู้นำตามประเภทดังกล่าว เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภาเขต ตำรวจ พระสงฆ์ ผู้อำนวยการสถานศึกษา ครู แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาล นักวิชาการสุขศึกษา วิศวกร เป็นต้น
ผู้นำชุมชนที่ดีย่อมมีความรับผิดชอบต่อชุมชนหรือสังคมที่อาศัยอยู่ มีความเอาใจใส่และสนใจที่จะให้ความช่วยเหลือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องความปลอดภัยของชุมชน การดำเนินงานป้องกัน อุบัติเหตุ         ภัยอันตรายหรือความรุนแรงต่างๆ โดยการนำของบุคคลเหล่านนี้ย่อมจะได้รับความร่วมมือ และยอมรับจากประชาชนในชุมชนเป็นอย่างดี ทั้งนี้เพราะผู้นำชุมชนมักจะเป็นตัวอย่างที่ดีและมีแผน ปฏิบัติงานที่เหมาะสมสอดคล้องกับความสนใจ ความต้องการ และปัญหาของชุมชนด้วย
๒.  แนวคิดเรื่องความสำคัญของกลุ่ม
โดยทั่วไปคนเราทุกคนต้องการได้รับความเคารพยกย่องจากผู้อื่น ความรู้สึกที่เป็น เจ้าของ ต้องการมีสถานภาพและความมั่นคง โดยการยอมรับของสมาชิกในกลุ่มจึงพยายามทำตามหรือปฏิบัติตามที่กลุ่มหรือสังคมถือปฏิบัติ เพื่อจะได้ปรับตัวให้เข้ากับสังคมและสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น                 ในเรื่องการสร้างเสริมความปลอดภัยให้ชุมชนเข้มแข็ง จึงควรเน้นการยอมรับของกลุ่มและแรงผลักดันของกลุ่ม ในการติชมหรือการยกย่อง เมื่อมีการปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
๓. แนวคิดเรื่องค่านิยมของสังคม
ความร่วมมือและความเป็นอิสระ เป็นความต้องการพื้นฐานของคนเรา หากบุคคลให้               ความร่วมมือรู้จักช่วยเหลือผู้อื่น ให้ความเคารพนับถือผู้อื่น รู้จักควบคุมตนเอง และมีบุคลิกลักษณะของ                ความเป็นพลเมืองดี ย่อมจะนำมาซึ่งการปฏิบัติที่ปลอดภัย
ในการสร้างเสริมความปลอดภัยให้ชุมชนจึงจำเป็นต้องให้บุคคลหรือกลุ่มคนในชุมชนรู้จักเรียนรู้ค่านิยมของสังคม การยอมรับของสังคม และการจัดกิจกรรมหรือโครงการที่อาศัยความร่วมมือ เช่น เรียนรู้ค่านิยมการสวมหมวกนิรภัยในการขับขี่รถจักรยานและรถจักรยานยนต์ ค่านิยมในการแต่งกายที่เหมาะสมไม่ล่อแหลมต่อการเกิดอาชญากรรม เป็นต้น
๔.  แนวคิดเรื่องระบอบประชาธิปไตย
การให้ความรู้จักและแนะนำให้ประชาชนในชุมชนรู้จักระบอบประชาธิปไตย สร้างความเข้าใจและการเรียนรู้ความเป็นประชาธิปไตย จะช่วยให้บุคคลในชุมชนตระหนักถึงปัญหาเรื่องภัยอันตราย อุบัติเหตุ หรือความไม่ปลอดภัยต่างๆ โดยจะต้องไม่คำนึงถึงความปลอดภัยเฉพาะของตนเองเท่านั้น แต่จะมีความรู้สึกรับผิดชอบต่อความปลอดภัยของผู้อื่นหรือสมาชิกอื่นในสังคมด้วยเสมอ ดังนั้น หากประชาชนยอมรับในกฎเกณฑ์ของสังคมในเรื่องนี้ เขาก็จะรู้สึกอิสระและพอใจในการปฏิบัติเพื่อความปลอดภัย ทั้งในด้านส่วนตัวและส่วนรวม
๕.  แนวคิดเรื่องความรับผิดชอบ
ความรับผิดชอบเป็นแรงจูงใจที่สำคัญในการทำให้บุคคลมีพฤติกรรมที่ถูกต้องสำหรับการที่ได้ฝึกปฏิบัติในสิ่งที่ท้าทายความรับผิดชอบนั้นก็มีส่วนช่วยให้เกิดสวัสดินิสัยด้วย บุคคลหรือประชาชนในชุมชน จึงควรได้รับโอกาสในการแสดงความสามารถและความไว้วางใจในการปฏิบัติงานหรือทำงาน ในสิ่งที่เขาต้องกระทำ หากชุมชนโดยเฉพาะผู้นำชุมชนมีการจัดโครงการหรือกิจกรรมป้องกัน อุบัติเหตุ หรือภัยอันตรายต่างๆ ก็ควรให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมรับผิดชอบและดำเนินงานด้วย

กระบวนการสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชน

ชุมชนปลอดภัย (Self Communities)
        เป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการดำเนินงานสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก  โดยชุมชนที่จะเข้าร่วมในเครื่อข่ายชุมชนปลอดภัยนั้นอาจเป็นชุมชนระดับหมู่บ้าน จังหวัด หรืออื่นๆแต่ที่สำคัญ ชุมชนต้องแสดงความตั้งใจอย่างแท้จริงในการดำเนินงาน  โดยใช้หลัก  13 แนวทางชุมชนปลอดภัย  ดังต่อไปนี้
1. กลุ่มต่างๆในชุมชนร่วมมือกัน..เพื่อผลระยะยาว
การดำเนินงานป้องกันการบาดเจ็บต้องมีจุดเริ่มมาจากความสนใจและความต้องการของคนในชุมชนนั้นๆอย่างแท้จริงโดยที่คนในชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมทั้งร่วมคิด  วางแผน  ทำงานและการติดตามผลการดำเนินงาน  ซึ่งเป็นในลักษณะการจัดตั้งกลุ่มพหุภาพ(Cross Sectorial Group) ในระดับชุมชน หมายถึง  การรวมตัวกันของกลุ่มประชาชนหรือกลุ่มองค์กรต่างๆที่มีอยู่แล้วในชุมชน เช่น ผู้นำชุมชน  ผู้นำท้องถิ่น อสม. กลุ่มแม่บ้านฯลฯ  การดำเนินงานในระยะแรกเน้นการรวมตัวกันของกลุ่มพหุภาพ
2.  เชื่อมโยงหน่วยงานภายนอกร่วมแก้ปัญหา
การประสานงาน  คือ  กลยุทธ์สำคัญของความสำเร็จ  เริ่มจากชุมชนสร้างเครือข่ายในการติดต่อสื่อสารกันระหว่างบุคคล  กลุ่มในชุมชนของตน เช่น คณะกรรมการชุมชน  กลุ่มครอบครัว ฯลฯ  ไปจนถึงการประสานงานกับองค์กรภายนอกที่เกี่ยวข้องต่างๆ เช่น หน่วยงานที่ทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค  งานสาธารณสุข  มูลนิธิ  สมาคมต่างๆ ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเคลื่อนไหวที่ชัดเจน
3.  ชุมชนสนใจแก้ปัญหาการบาดเจ็บทุกรูปแบบ
กระบวนการจัดการกับปัญหาการบาดเจ็บและสร้างเสริมความปลอดภัยนั้นชุมชนต้องให้ความสนใจในการแก้ปัญหาการบาดเจ็บโดยไม่ตั้งใจ  เช่น การตกจากที่สูง  จมน้ำ  ไฟฟ้าดูด ฯลฯและการบาดเจ็บโดยตั้งใจ เช่น เด็กถูกทำร้ายร่างกาย ฯลฯ ซึ่งต้องพิจารณาตามลำดับความสำคัญโดยวิเคราะห์จากสถิติและอุบัติการณ์ในชุมชน
4.  อย่าละเลยความเสี่ยง
ชุมชนให้ความสนในเป็นพิเศษกับกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็กในครอบครัวยากจน  เด็กพิการ  เด็กเร่ร่อน ฯลฯ เด็กเหล่านี้มีภาวะความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บสูงกว่าเด็กทั่วไป  เนื่องจากสภาพแวดล้อมทางกายภาพ  ศักยภาพของผู้ดูแลเด็ก รวมถึงข้อจำกัดของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
5.  ชุมชนมีระบบการเฝ้าระวังการบาดเจ็บที่ชัดเจน
มีการสร้างระบบการเฝ้าระวังการบาดเจ็บในชุมชน  โดยมีการบันทึกการบาดเจ็บ ประโยชน์ที่ได้จากการบันทึกมีดังนี้
      -  ชุมชนใช้การบันทึกในการประเมินขนาดของปัญหาในแบบต่างๆ
      -  ค้นหาสาเหตุของปัญหานั้นๆ  คือ ปัจจัยเสี่ยงของการบาดเจ็บแบบต่างๆ
      -  ใช้ในการประเมินผลการดำเนินงานต่างๆของชุมชนในการป้องกันการบาดเจ็บ
      -  นำเรื่องราวของการบาดเจ็บแต่ละรายมาเผยแพร่แก่ประชาชนในชุมชน เพื่อเป็นบทเรียนที่มีคุณค่า นำไปสู่การสร้างจิตสำนึกในการป้องกันการบาดเจ็บ
6.  มีระบบการเดินสำรวจความปลอดภัย
มีระบบการสำรวจความปลอดภัยในสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมเสี่ยง
      -  ลักษณะพฤติกรรมเสี่ยง เช่น ผู้ปกครองขาดความระมัดระวังในการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน  การเลือกซื้อของเล่นให้เด็ก  การขับขี่ยานพาหนะขณะมึนเมาฯลฯ
      -  ความปลอดภัยในสิ่งแวดล้อม เช่น  มีสุนัขจรจัดหรือไม่  สนามเด็กเล่น  วัสดุ  อุปกรณ์  มีความปลอดภัยเพียงไร
7.  ต่อต้านพฤติกรรมเสี่ยงและผลิตภัณฑ์อันตราย
ชุมชนร่วมกันต่อต้านพฤติกรรมเสี่ยงและสิ่งแวดล้อมอันตราย ดังนี้
      -  ต่อต้านพฤติกรรมเสี่ยง ทั้งผู้ใหญ่และเด็ก  อันจะนำไปสู่การบาดเจ็บในเด็ก
      -  ต่อต้านผลิตภัณฑ์เสี่ยงและสิ่งแวดล้อมอันตรายที่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บ
ซึ่งชุมชนต้องให้ความรู้แก่ประชาชนในเรื่องของอันตรายจากความเสี่ยงต่างๆและผนวกเข้ากับวิธีการป้องกันและแก้ไข
8.  ส่งเสริมการใช้อุปกรณ์เสริมความปลอดภัย
ชุมชนมีการสนับสนุนการใช้อุปกรณ์เสริมความปลอดภัยต่างๆ เช่น หมวกกันน๊อค  ที่นั่งพิเศษสำหรับเด็กในรถยนต์  จักรยานยนต์  เครื่องตรวจจับควันไฟ ฯลฯ
9.  ชุมชนจัดการฝึกอบรมเพิ่มพูนความรู้
ชุมชนมีกระบวนการฝึกอบรมที่เหมาะสมเพื่อเผยแพร่ความรู้แก่ประชาชน ในเรื่องของการป้องกันควบคุมการบาดเจ็บในเด็ก  วิธีการปฐมพยาบาลและการปฏิบัติการณ์กู้ชีพเบื้องต้น
10.  เตรียมพร้อมรับภาวะฉุกเฉิน
มีการเตรียมความพร้อมรับภาวะฉุกเฉินต่าง ๆที่เกิดขึ้นในชุมชน  ไม่ว่าจะเป็นอัคคีภัย  วาตภัย  อุบัติเหตุ  ซึ่งชุมชนต้องมีระบบการจัดการกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกะทันหัน เช่น  การรักษาพยาบาลฉุกเฉินในชุมชนและการส่งต่อ เป็นต้น
11.  ใช้ทรัพยากรของชุมชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด
สามารถดำเนินการระยะยาวโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ปกติในชุมชน เช่น บุคลากร  งบประมาณฯลฯ ใช้สิ่งเหล่านี้ให้เกิดคุณค่าและเป็นประโยชน์ต่องานสร้างเสริมความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง เพราะในแต่ละชุมชนนั้นมีกระบวนการ ค่านิยม  ทัศนคติที่แตกต่างกัน
12.  มีตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน
มีการประเมินภายในชุมชนโดยกำหนดตัวชี้วัดที่เหมาะสมสำหรับชุมชนเพื่อใช้เป็นเครื่องมือวัดผลการดำเนินงาน  ซึ่งอาจใช้เกณฑ์มาตรฐานความปลอดภัยขั้นต่ำที่เป็นเกณฑ์ชี้วัดความสามารถของการดูแลเด็กและครอบครัวหรือประเมินผลข้อมูลจากการสำรวจการบาดเจ็บและการเฝ้าระวังการบาดเจ็บมาเป็นตัวชี้วัดของชุมชนเอง  รูปแบบตัวชี้วัดในชุมชน ได้แก่
      -  ด้านสิ่งแวดล้อม  เช่น มลพิษ  สารเคมี แหล่งเสื่อมโทรม ฯลฯ
      -  ด้านผลกระทบต่อสุขภาพ เช่น  การบาดเจ็บจากเครื่องเล่นที่ไม่ถูกต้องตามมาตรฐานฯลฯ
      -  ด้านการป้องกันแก้ไข เช่น วิธีการรักษาพยาบาลที่เหมาะสม  ให้ความรู้แก่คนในชุมชน การปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม ฯลฯ
13.  องค์ความรู้ชุมชน..สำคัญที่การปฏิบัติและขยายผล
มีการรวบรวมความรู้ประสบการณ์ที่ได้จากการดำเนินงานภายในชุมชนเผยแพร่สู่ชุมชนอื่นเพื่อให้เกิดการขยายผลการดำเนินงานสร้างเสริมความปลอดภัยซึ่งอาจใช้เทคนิคการประชาสัมพันธ์เข้าช่วย เช่น การจัดประชุมชุมชนต่างๆ  การพูดในที่สาธารณะ  การจัดนิทรรศการหรือชุมชนประสานกับทางสื่อมวลชน เช่น หนังสือพิมพ์  วิทยุ  โทรทัศน์ ฯลฯ เพื่อให้เกิดการเข้าใจที่ตรงกันในวัตถุประสงค์ เกิดกระบวนการผลักดันเข้าสู่นโยบายระดับชาติต่อไป

@@@@@@@@@@@@

การสร้างเสริมความปลอดภัยจากอาชญากรรม

การสร้างเสริมความปลอดภัยจากอาชญากรรม
1. การป้องกันการลักทรัพย์ในที่พักอาศัย 1.1 ก่อนออกจากบ้าน ควรมีคนที่ไว้ใจได้อยู่ดูแลที่พักอาศัย, ควรเปิดไฟบางห้องไว้
                                                 1.2 ก่อนเปิดประตูบ้าน ก่อนเปิดประตูบ้านรับแขก ควรดูให้ทราบแน่ชัดว่าเป็นผู้ใด, ตรวจสอบบัตรประจำตัวช่าง
                                                       ซ่อมหรือตัวแทนบริษัทต่างๆที่จะเข้ามาในบ้าน
                                                 1.3 นอนหลับตอนกลางคืน เมื่อพลบค่ำควรรูดม่านปิด ไม่ให้คนนอกมองเห็นด้านใน
                                                 1.4 ข้อควรปฏิบัติ ไม่ปล่อยให้ที่พักอาศัยมีต้นไม้สูง, ควรผูกมิตรกับเพื่อนบ้าน, ไม่ควรเก็บของมีค่าไว้ที่บ้าน
                                                       , ถ้ามีโทรศัพท์ซักถามว่ามีคนอยู่บ้านไหม ให้ตอบว่าอยู่กันหลายคน, เมื่อเกิดเหตุร้าย
                                                        ไม่ควรพยายามจับผู้ร้ายด้วยตนเอง(โทร. 191)
2. การป้องกันการล่วงกระเป๋า 2.1 ไม่นำทรัพย์สินมีค่าพกติดตัวจำนวนมาก
                                    2.2 พกกระเป๋าเงินไว้ในที่ปลอดภัย
                                    2.3 กระเป๋าถือสตรี ควรถือกระชับมือไว้
                                    2.4 พึงระลึกไว้ว่า คนร้ายเป็นได้ทุกเพศทุกวัย
                                    2.5 หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มักเกิดเหตุร้าย
                                    2.6 เมื่อถูกล่วงกระเป๋า ควรตะโกนขอความช่วยเหลือ
3. การป้องกันการถูกล่อลวงข่มขืน 3.1 อย่าแต่งตัวล่อแหลม
                                         3.2 อย่าดื่มสุราและของมึนเมาทุกชนิด
                                         3.3 อย่าหลงเชื่อคนแปลกหน้า

การสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชน

ชุมชนกับความปลอดภัย
ชุมชน คือ กลุ่มคนในขอบเขตพื้นที่ในอาณาเขตเดียวกัน ที่มีจำนวนครัวเรือนหลายๆครัวเรือนอยู่ร่วมกันในพื้นที่แห่งนั้น ซึ่งชุมชนนั้นจะมีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ 
ลักษณะของชุมชนขนาดเล็ก : มีครอบครัวอยู่กันจำนวนน้อย รู้จักกันทั่ว ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลแน่นแฟ้น
ลักษณะของชุมชนขนาดใหญ่ : มีครอบครัวอยู่กันจำนวนมาก อาจกลายเป็นชุมชนแออัดได้ และมักมีสภาพแวดล้อมที่ไม่ค่อยดี
การสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชนนั้นควรจะทำหลายๆด้าน ซึ่งทุกๆคนจะต้องร่วมกันรับผิดชอบเกี่ยวกับความปลอดภัยต่างๆของตนเอง และบุคคลอื่น

การสร้างเสริมความปลอดภัยในการท่องเที่ยว

การสร้างเสริมความปลอดภัยในการเดินทางท่องเที่ยว
1. ศึกษาสภาพพื้นที่ภูมิประเทศ และภูมิอากาศของสถานที่ที่จะไปท่องเที่ยว ถ้าเห็นว่าอาจเกิดอันตรายได้ ก็ควรงดเว้นการเดินทาง
2. ควรเตรียมยา เครื่องเวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ที่จำเป็นในการเดินทางติดตัวไปด้วย
3. ไม่ดื่มสุรา หรือใช้ยาเสพติดในขณะท่องเที่ยว
4. การไปเที่ยวต้องมีสภาพร่างกายที่พร้อมต่อลักษณะการไปเที่ยวในสถานที่นั้นๆ
5. ระมัดระวังพวกมิจฉาชีพ

การสร้างเสริมความปลอดภัยจากสัตว์ร้าย

การสร้างเสริมความปลอดภัยจากสัตว์ร้าย
1. ภัยจากวัวหรือควาย ถ้านักเรียนถูกวัวหรือความวิ่งไล่ ควรรีบถอดเสื้อ หรือถ้ามีผ้าถือไว้ให้โยนทิ้ง วัวหรือควายจะหยุดดมของที่เราทิ้งไว้ หรือถ้าว่ายน้ำ
    เป็น ให้วิ่งลงน้ำ
2. ภัยจากสุนัข การเตรียมไม้เพื่อป้องกันตัวจากการถูกสุนัขกัดเป็นสิ่งที่ควรทำ
3. ภัยจากงู ควรหลีกเลี่ยงการเดินไปในที่มืด ที่รก หากมีความจำเป็นควรสวมร้องเท้าบูทแล้วใช้ไม้ตีต้นหญ้าหรือพุ่มไม้ไปตลอดทาง เพื่อให้งูเลื่อยหนีไป